ความเป็นปัจจุบัน หรือ Timeliness อ้างอิงจากสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) สพร. หรือ DGA คือ “ข้อมูลเป็นปัจจุบันทันสมัยเพียงพอต่อการใช้งาน และพร้อมใช้งานตามที่กำหนดและในกรอบเวลาที่กำหนดไว้ หรือมีข้อมูลทันต่อการใช้งานทุกครั้งตามที่ผู้ใช้ต้องการ”
ในทางปฏิบัติจำเป็นต้องมีตัวชี้วัดที่ระบุสถานะความเป็นปัจจุบันของชุดข้อมูล เช่น ชุดข้อมูลนี้มีการปรับปรุงทุกวัน ข้อมูลนี้มีการปรับปรุงทุก 1 ชั่วโมง เป็นต้น เพื่อให้ระบบสามารถเก็บ Log ความเคลื่อนไหว และสามารถประเมินได้ว่าชุดข้อมูลนี้มีการปรังปรุงหรือมีการอัพเดทล่าสุดเมื่อไหร่ เป็นไปตามตัวชี้วัดที่กำหนดเอาไว้หรือไม่
โดยสามารถคำนวณความเป็นปัจจุบันในรูปแบบของร้อยละได้ ตัวอย่างเช่น ชุดข้อมูลที่มีกำหนดการปรับปรุงทุกชั่วโมง แต่ล่าสุดในระบบมีการปรับปรุงข้อมูลเมื่อ 70 นาทีที่แล้ว แสดงว่าข้อมูลชุดนี้มีการล่าช้าในการปรับปรุงข้อมูลเกิดขึ้น 70-60 = 10 นาที ข้อมูลชุดนี้จึงมีร้อยละความเป็นปัจจุบันอยู่ที่ 98.33%
ข้อมูลบางชุดอาจไม่มีการกำหนดความถี่ในการอัพเดทที่แน่นอน เพราะเป็นข้อมูลไม่ค่อยมีความเคลื่อนไหว เช่น ข้อมูล HR ของบริษัทขนาดเล็ก ที่อาจไม่มีความเคลื่อนไหวบ่อยครั้ง ในกรณีนี้อาจสามารถกำหนดความถี่ในการอัพเดทขึ้นมาเป็นตัวตั้งต้น เช่น เดือนละ 1 ครั้ง และหากข้อมูลในเดือนล่าสุดไม่มีการเปลี่ยนแปลงก็แปลว่าข้อมูลนั้นถือว่าเป็นข้อมูลที่อัพเดทล่าสุด
มิติความเป็นปัจจุบันเป็นเพียง 1 ในหลายมิติของกระบวนการตรวจสอบคุณภาพของข้อมูล ซึ่งมิตินี้ ถือเป็นมิติที่ตรวจสอบได้ค่อนข้างง่าย เพราะเป็นการเช็ค log เวลาในการรับส่งข้อมูล อย่างไรก็ตามตัวชุดข้อมูลจะถูกต้องหรือไม่ อาจจะต้องมีการตรวจสอบในมิติอื่นเพิ่มเติม
เพื่อให้ข้อมูลในองค์กรมีคุณภาพพร้อมใช้ จะต้องมีกระบวนการในการตรวจสอบคุณภาพของข้อมูลในมิติต่างๆ ซึ่งต้องมีการกำหนดมาตรฐานกลางในการบังคับใช้ในแต่ละองค์กร
สนใจปรึกษาและออกแบบพัฒนาโครงการ Big Data, Data Analytics, Data Governance, Artificial Intelligence และ Data Driven Transformation เพื่อเพิ่มศักยภาพของธุรกิจ ติดต่อ
Tel: 099-425-5398
Email: inquiry@coraline.co.th
Facebook: https://www.facebook.com/coralineltd
Comments