top of page

ทำไมโครงการ Data Governance ถึงไม่ประสบความสำเร็จ?

ธรรมาภิบาลข้อมูล “Data Governance” คือ “การกำหนดสิทธิ หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการบริหารจัดการข้อมูลทุกขั้นตอนเพื่อให้การได้มาและการนำข้อมูลของหน่วยงานไปใช้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน เป็นปัจจุบัน รักษาความเป็นส่วนบุคคลและสามารถเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนสามารถบูรณาการระหว่างกันได้อย่างมีประสิทธิภาพและมั่นคงปลอดภัย” *อ้างอิงจาก: สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (Digital Government Development Agency, DGA)


ดังนั้นโครงการ Data Governance จึงเป็นโครงการในเชิงนโยบาย โดยเริ่มจากการวางบทบาทของผู้เกี่ยวข้อง จัดตั้งคณะทำงาน วางแผนกระบวนการในการบริหารข้อมูลและวิเคราะห์ช่องว่างด้านเทคโนโลยี ซึ่งหลายโครงการจบลงด้วยการทำ Paper และมีการทำ Metadata ด้วย Excel ซึ่งไม่ตอบโจทย์ในเชิงการเข้าถึงข้อมูลในระดับองค์กร


สังเกตได้จาก TOR ในการดำเนินโครงการ Data Governance มักจะเป็นการว่าจ้างที่ปรึกษาและมีสิ่งที่ส่งมอบเป็นรูปแบบ "เอกสาร" มิใช่ระบบ หรือ การ Implement ชุดข้อมูลเพื่อขึ้น Data Catalog


เมื่อเป็นเช่นนั้น การดำเนินโครงการ Data Governance ก็เป็นเพียงการจ้างที่ปรึกษาเพื่อวิเคราะห์สถานะด้านข้อมูล ส่วนการจะปรับเปลี่ยนกระบวนการหรือนำไปประยุกต์ใช้นั้นเป็นเรื่องของอนาคต


สุดท้ายแล้ว การดำเนินโครงการ Data Governance ที่จบด้วยเอกสาร ก็จะหมดอายุขัย เพราะเมื่อเวลาผ่านไป มีชุดข้อมูลใหม่เกิดขึ้น มีเทคโนโลยีใหม่ที่ Update ตามกาลเวลาและเอกสารที่ได้จัดทำขึ้น ก็จะไม่สามารถนำมาเป็นแนวทางต่อได้


โครงการ Data Governance เช่นนี้จึงไม่ประสบความสำเร็จ เพราะแนวทางในการดำเนินโครงการผิดเพี้ยน แทนที่จะเป็นโครงการการกำกับดูแลข้อมูลเพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องจนกระทั่งผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงข้อมูลและเข้าใจสถานะของข้อมูลได้ แต่กลับกลายเป็นโครงการทำรายงานโดยที่ปรึกษาไปโดยปริยาย


เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ของโครงการ Data Governance จะต้องมีระบบ Data Catalog ที่ต่อยอดได้ มีแนวทางที่ชัดเจนและมีคณะทำงานที่ทำงานอย่างต่อเนื่อง มีการส่งมอบเป็นระบบที่สามารถเชื่อมต่อกับข้อมูลได้


หากแต่ละหน่วยงาน โดยเฉพาะหน่วยงานภาครัฐ สามารถดำเนินโครงการ Data Governance ได้อย่างถูกต้อง สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือการใช้ประโยชน์จากข้อมูลและเป็น Data Driven Organization ที่ข้อมูลจะไม่ได้มีไว้เก็บอย่างเดียวแต่สามารถใช้ประโยชน์และทำให้การเข้าถึงข้อมูลสามารถตรวจสอบได้ โดยเป็นไปอย่างเป็นระบบระเบียบ

Data Governance กับ Data Management เกี่ยวข้องกันโดยตรง ดังนั้น หากเรายังคงหลงทางในการดำเนินโครงการ Data Governance อาจส่งผลต่อโครงการ Data Management ไปด้วย


เพื่อไม่ให้ปัญหาเหล่านี้เรื้อรัง เรามาช่วยกันผลักดันให้เกิด Data Governance อย่างถูกต้อง เพื่อสุดท้ายข้อมูลจะได้รับการกำกับดูแลอย่างเหมาะสมต่อไป


ทำไมโครงการ Data Governance ถึงไม่ประสบความสำเร็จ
ทำไมโครงการ Data Governance ถึงไม่ประสบความสำเร็จ

แท็ก:

Comments


< Previous
Next >
bottom of page