แปลตามตัว Data = ข้อมูล Drive(n) = ขับเคลื่อน Business = ธุรกิจ
เมื่อนำคำทั้ง 3 มารวมกัน Data Driven Business จึงหมายถึง การขับเคลื่อนธุรกิจด้วยข้อมูล
การขับเคลื่อนธุรกิจด้วย Data คือ การตัดสินใจในกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยการใช้ “ข้อมูล” ซึ่งต้องเป็นข้อมูลที่มี “ระบบ” ก่อให้เกิดการตัดสินใจได้อย่าง “ทันที” และ “อัตโนมัติ”
เหตุผลที่ต้องผลักดันให้เกิดการขับเคลื่อนธุรกิจด้วยข้อมูล ก็เพราะการตัดสินใจด้วย “ประสบการณ์” มันอาจจะไม่ตอบโจทย์ได้ทัน เพราะกว่าจะรวบรวมข้อมูล กว่าจะวิเคราะห์ กว่าจะอนุมัติ คู่แข่ง หรือพฤติกรรมของลูกค้าก็เปลี่ยนแปลงไปเสียแล้ว
Data Driven Business เป็น “นโยบาย” แต่ไม่ใช่แนวทางในการดำเนินการ ในขณะที่ Digital Transformation เป็น ”แนวทาง” ในการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงาน ด้วยการใช้ Digital Technology และ Big Data เป็น “ทรัพยากร” ที่ใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ
อย่างไรก็ตาม ขั้นตอน และกระบวนการต่าง ๆ นั้น ไม่มีอะไรที่ตายตัว เพราะแต่ละโจทย์ ของแต่ละองค์กร มีความยากง่าย ซับซ้อน ไม่เหมือนกัน และตัวข้อมูลเอง ก็มีความหลากหลาย ทั้งในมุมของแหล่งที่มาของข้อมูล และโครงสร้างของข้อมูล
ดังนั้น องค์กรที่สามารถผลักดันให้เกิด Data Driven Business จะออกแบบแนวทางในการดำเนินงานแบบ Customized เพื่อหา Solution ที่เป็นเอกลักษณ์
ทั้งนี้ ขั้นตอนในการแก้ปัญหา ประกอบไปด้วย
1. ระบุปัญหา เช่น ปัญหาไม่มีข้อมูล ปัญหาการเชื่อมโยงข้อมูล ปัญหาการแสดงผลอัตโนมัติ ปัญหาการวิเคราะห์ที่ไม่มีกลไกอย่างชัดเจน
2. ระบุ Situation หรือ สถานการณ์ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหานั้นๆ เช่น เมื่อไม่มีระบบวิเคราะห์แล้วปัจจุบันวิเคราะห์กันด้วยวิธีใด
3. วางเป้าหมายการทำงานให้ชัดเจนและสื่อสารให้ทีมงานหรือผู้เกี่ยวข้องเข้าใจร่วมกัน
4. ออกแบบแนวทางในการแก้ปัญหา หากจำเป็นต้องลงทุนด้านเทคโนโลยี เช่น ระบบการเก็บข้อมูล ระบบการวิเคราะห์ หรือโปรแกรมต่าง ๆ จะต้องพยายามทำความเข้าใจในตัวระบบเทคโนโลยีนั้น ๆ และมีการเปรียบเทียบ เพื่อเลือกสิ่งที่เหมาะสมที่สุด เน้นการใช้เทคโนโลยีที่ยืดหยุ่นที่พร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ ในอนาคตได้
5. พัฒนาโครงการ และทดสอบก่อนที่จะมีการปรับเปลี่ยนหรือนำแนวทางการแก้ปัญหาใหม่ๆ มาใช้จริง
6. ติดตามผล เพื่อประมินผลอย่างต่อเนื่องในกรณีที่มีการแบ่งโครงการออกเป็นส่วน หรือ Phase ควรเป็นการทำเพื่อต่อยอดโครงการเดิม
ในกลไกของการใช้ประโยชน์จาก Data จะมีองค์ประกอบดังนี้ 1. แหล่งที่มาของข้อมูล 2. แนวทางการเชื่อมโยงข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ 3. การออกแบบ Infrastructure ที่เหมาะสม สำหรับการจัดเก็บ และบริหารข้อมูล 4. การประมวลผลที่เหมาะสม และรวดเร็ว 5. การนำผลลัพธ์ไปใช้งาน ทั้งในมุมของการขึ้นเป็น Dashboard หรือมีการกระทำ
Data Driven Business ไม่ใช่เรื่องใหญ่ แต่เป็นเรื่องยาก เพราะการจะทำให้สำเร็จได้นั้นจำเป็นต้องปรับตัว และเปลี่ยนวิธีการทำงานจากเดิมที่เน้นการใช้ประสบการณ์ หรือตัดสินใจจากหน้างาน เป็น การใช้ “ข้อมูล” เพื่อตัดสินใจ และควรเป็นการใช้ข้อมูลที่มี “ระบบ” เพื่อก่อให้เกิดผลลัพธ์อย่างรวดเร็วและเป็นอัตโนมัติ
Comments