Prompt engineering คือ แนวปฏิบัติในการออกแบบ และปรับแต่งคำถามหรือคำสั่ง (prompt) เพื่อทำให้การตอบสนองจาก AI ตอบโจทย์การใช้งานมากที่สุด กล่าวคือ Prompt engineering เป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างเจตนาของมนุษย์กับ Output ของ machine
ตัวอย่างเช่น การโต้ตอบกับ voice assistants เช่น Siri หรือ Alexa ถือว่าเป็นการสร้างการมีส่วนร่วมแบบพื้นฐานในการทำให้ชุดคำตอบแม่นยำขึ้น ซึ่งถือเป็นลักษณะงานของ Prompt Engineering ในรูปแบบหนึ่ง เช่น วิธีการที่เราพูดคำขอ ระหว่าง "เปิดเพลงที่ให้ความรู้สึกผ่อนคลาย" กับ "เปิดเพลง Symphony ของ Beethoven" จะทำให้เราได้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกัน ระบบ AI จะจดจำว่า การตอบสนองของเราเป็นอย่างไร จากผลลัพธ์ที่ AI คัดเลือกให้ ดังนั้น การที่เราใส่ชุดคำสั่ง และตอบสนอง AI ก็ถือว่าเป็นการปรับจูนการทำงานของ AI ในรูปแบบหนึ่ง
ดังนั้นการจะเป็น Promt Engineer ไม่จำเป็นต้องจบ Engineering เหมือนชื่อของตำแหน่งนี้ แต่เป็นคนที่สามารถเข้าใจกลไกการทำงานของ AI ประเภทนั้นๆ และปรับจูนเพื่อให้ AI ทำงานได้อย่างถูกต้อง เช่น เมื่อต้องการสร้าง Chatbot ที่ตอบคำถามเกี่ยวกับระบบคลังสินค้าหลังบ้าน Promt Engineer จะทำหน้าที่ในการเข้าใจว่าชุดคำถามจะถามอะไรบ้าง และ AI จะไปดึงข้อมูลจาก Knowledge Database อย่างไร เป็นต้น
ซึ่ง Prompt Engineer ไม่ใช่แค่คนที่มีทักษะทางด้านเทคนิค แต่ยังต้องเป็นคนที่เข้าใจความแตกต่างของภาษา บริบท และพฤติกรรมของ AI ด้วย โดยลักษณะการทำงาน คือ ทำความเข้าใจว่า AI จะตอบสนองอย่างไรเมื่อได้รับ Prompt ที่มีความเฉพาะ และต้องทราบว่า AI จะให้ผลลัพธ์ที่มีความหมาย หรือการตอบสนองสำหรับ Input ใดบ้าง
จากรายงานของ Time Magazine กล่าวว่าองค์กรขนาดใหญ่ ไปจนถึง startup ด้านเทคโนโลยี ต่างตระหนักถึงคุณค่าของบทบาทหน้าที่ด้าน Prompt Engineering เนื่องจาก solution ที่ขับเคลื่อนด้วย AI มีการเชื่อมต่อเข้ากับผลิตภัณฑ์ และการบริการมากขึ้น ความเชี่ยวชาญของ Prompt Engineer จะเข้ามาช่วยให้องค์กรแน่ใจว่า solution เหล่านี้ มีประสิทธิภาพ เป็นมิตรกับผู้ใช้ และตอบโจทย์ให้กับองค์กร
นอกจากนี้อ้างอิงจากเว็บไซต์หางานอย่าง Indeed หรือ LinkedIn ยังได้มีรายงานว่ามีการเปิดรับสมัคร Prompt Engineer หลายพันตำแหน่งในสหรัฐฯ เลยทีเดียว
อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันมีหลายสิ่งหลายอย่างที่ผู้ใช้งานธรรมดาทั่วไปก็สามารถเขียนชุดคำสั่ง Prompt ง่าย ๆ ได้โดยไม่ต้องอาศัยความรู้ด้าน Prompt engineering เช่น "ออกแบบรูปแบบที่มีรูปดอกทานตะวัน" "สร้างแผนการตลาดสำหรับหนังสือเด็กเล่มใหม่ของฉัน" ซึ่งความสามารถในการเข้าถึงกรณีการใช้งานเหล่านี้ถือเป็นมาตรฐานสำหรับการใช้งานที่จะถูกยกยอดไปสู่อนาคต ที่การดำเนินงานที่มีความซับซ้อนจะมีความง่ายขึ้นมาก ซึ่งชุดคำสั่งเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องเขียน Code หรือเข้าใจกลไกเชิงเทคนิคมากนัก
ในอนาคต AI จะสามารถจัดการด้วยคำสั่งได้ง่ายขึ้น ซึ่งก็อาจทำให้มีความต้องการในตำแหน่ง Prompt Engineer น้อยลงอย่างเห็นได้ชัด และคนที่ใช้ AI ก็ไม่จำกัดแค่ technician อีกต่อไป เพราะ AI จะเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องมือต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันของเรา ในหลายๆ บทความ รวมถึงบทความวิชาการต่างๆ จึงลงความเห็นว่า กระแสของ Prompt Engineer จะลดลงในที่สุด
ทั้งนี้ งาน Prompt Engineer อาจจะไม่ได้หมดไป สำหรับบริษัทเทคโนโลยีที่มีการพัฒนา AI หรือต่อยอด AI ก็ยังคงจำเป็นต้องมีกระบวนการ Prompt Engineering เกิดขึ้น แต่อาจจะไม่จำเป็นต้องมี Prompt Engineer เพราะ AI Engineer หรือ QA Engineer ก็สามารถทำหน้าที่ Prompt Engineer ได้เช่นเดียวกัน
ฝนฟ้าอากาสวันนี้เป็นอย่างไรบ้าง
ฝนฟ้าอากาศในวันวันนี้เป็นอย่างไรบ้าง