top of page

Idea vs I do



ในทุกวันนี้ ใครๆ ก็ฝันอยากมีธุรกิจ อยากลงทุนทำ Startup มีไอเดียล้ำๆ มากมาย โดยเฉพาะ การ Matching แต่หากลองดูสถิติความสำเร็จของ startup จะพบว่า กว่า 71% ของ บริษัท startup จะล้มเหลวในปีที่ 10 (ที่มา: https://www.statisticbrain.com/startup-failure-by-industry/) ยิ่งไปกว่านั้นธุรกิจ startup ในช่วงแรกๆ ต้องแบกรับภาวะ "ขาดทุน" นานระดับหนึ่ง ตัวอย่างเช่น Facebook เองก็เริ่มมีกำไรในปีที่ 5 หลังจากลงทุนไปกว่าพันล้านเหรียญสหรัฐ หรือแม้กระทั่ง Wongnai เว็บรีวิวร้านอาหารชื่อดังของไทยเรา ก็ต้องต่อสู้กับการทำ startup นานถึง 7 ปี กว่าจะได้จับคำว่า "กำไร" ได้เป็นครั้งแรก ยังไม่รวมถึงบริษัทอื่นๆ อีกมากมาย ที่ยังอยู่ในภาวะ "ขาดทุน" หนึ่งในนี้ คือ Lazada ที่เราคุ้นเคยกันดี ดังนั้น การมีแค่ Idea จึงไม่ตอบโจทย์ทั้งหมดของ Stratup หากคุณมีโอกาสเดินทางไปศึกษางานที่ Silicon Valley ดินแดนแห่งสวรรค์ของเหล่า Startup คุณจะพบเหล่านักคิดมากมาย ออกมาแสดง Idea กันอย่างเปิดเผย โดยไม่กลัวเลยว่า Idea ของตัวเองจะถูก Copy แต่อย่างใด นั้นเพราะ มีแค่ Idea ไม่เท่าการมี I do เบื้องหลังความสำเร็จมากมายเหล่านี้ เต็มไปด้วยอุปสรรคที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน คงไม่มีใครคาดเดาได้ว่า ในทุกๆ วัน Facebook ต้องทำงานหนักแค่ไหน เพื่อป้องกัน และกำจัด account ปลอมและสร้างความปลอดภัยให้ผู้ใช้งาน หรือแม้แต่ Google เองก็ต้องทำงานหนักมาก เพื่อไม่ให้ข้อมูลต่างๆ ถูก Hack หรือนำไปใช้งานในทางที่ผิดๆ ได้ Netflix เองก็ต้องคิด Algorithm ใหม่ๆ ทุกวัน เพื่อให้เว็บดูหนังออนไลน์ของเขาสามารถแนะนำหนัง และหาช่องทางการเข้าถึงลูกค้าให้ได้ดีเยี่ยมที่สุด จนล่าสุด มียอดดูหนังออนไลน์แซงยักษ์ใหญ่อย่าง Youtube ไปแล้ว ความสำเร็จต่างๆ จึงเกิดได้จากการคิดแบบ Proactive นั้นคือ Act หรือการคาดการการกระทำ ”ก่อน” ที่จะเกิดปัญหาใหญ่ มิใช่ Reactive ซึ่งคือการ Act หรือกระทำเมื่อมีปัญหาแล้ว นอกจาก Startup แล้ว ความคิดระหว่าง Idea กับ I do ก็สามารถนำมาประยุกต์ได้กับโปรเจคที่ต้องการการเปลี่ยนแปลงมากมาย จากแต่ก่อนที่องค์กรมักจะมองหาโปรแกรมสำเร็จรูปจาก Vender เพื่อแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็ว และภายหลังมักพบว่า โปรแกรมนั้นๆ กลับไม่ตอบโจทย์ที่แท้จริงให้องค์กรได้ ทำให้องค์กรเสียเงินลงทุนมากมายมหาศาล โปรแกรมผิด หรือใครผิด??? สิ่งเหล่านี้สามารถเปลี่ยนใหม่เป็น I do โดยที่ทางองค์กรสามารถทำความเข้าใจ และตรวจสอบกับโปรแกรมต่างๆ ได้ และส่ง Requirement ที่ถูกต้อง ชัดเจน ให้นักพัฒนา หรือแม้กระทั่ง องค์กรสามารถสร้างบุคลากรที่ออกแบบและสร้างโปรแกรมเองได้ เป็นลิขสิทธิ์ของตัวเอง หากเพียงเรียนรู้ และเข้าใจกลไกของ Machine Learning และ Artificial Intelligence งาน Big Data หรือ Digital ไหนๆ ก็เกิดขึ้นได้ การลงทุนรูปแบบนี้ นอกจากจะประหยัดค่าใช้จ่ายเรื่องเครื่องไม้ เครื่องมือแล้ว ยังสร้างองค์ความรู้แบบยั่งยืนให้องค์กรได้อีกด้วย Idea and I do จึงต้องมาด้วยกัน เพื่อความสำเร็จที่แท้จริง และมั่นคง

 


Comments


< Previous
Next >
bottom of page