หากมองว่า "ข้อมูล" เป็นทรัพยากรหนึ่งในองค์กร ก็จะต้องมีบุคคลที่เข้าใจทรัพยากรนี้ โดยจำเป็นต้องมีนโยบายในการกำกับและดูแลทรัพยากรนี้ด้วยเช่นกัน
เพื่อให้โครงการ Data Governance เกิดขึ้น จะต้องมีการจัดตั้งคณะกรรมการและคณะทำงาน ที่สามารถผลักดันให้ข้อมูลขององค์กรได้รับการดูแลตามมาตรฐานที่ควรจะเป็น ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดแนวทางในการจัดเก็บ แนวทางในการเข้าถึง สิทธิ์ของผู้ใช้งานและมาตรฐานคุณภาพของข้อมูล
โดยโครงสร้างบุคลากรที่เกี่ยวข้องในโครงการ Data Governance จะถูกแบ่งออกเป็น 4 ระดับ ได้แก่
Data Governance Steering Committee คือ กลุ่มผู้บริหารสูงสุดขององค์กร ผู้มีหน้าที่กำหนด Direction ขององค์กร ทำให้เกิดกระบวนการต่าง ๆ ตามวงจรชีวิตของข้อมูล
Data Governance Council คือ กลุ่มผู้บริหารในฝ่ายงานที่เกี่ยวข้องกับโครงการ Data Governance โดยตรง ทำหน้าที่นำ Direction ไปขยายความ และคอยให้คำแนะนำทีมงาน เพื่อให้โครงการ Data Governance ประสบความสำเร็จ
Data Governance Officer คือ กลุ่มผู้ปฏิบัติงาน โดยมีทีม Data Steward เป็นทีมหลัก ทำหน้าที่วางมาตรฐาน จัดทำ Template ตรวจสอบกระบวนการ และประสานงานกับทีมต่าง ๆ เพื่อให้โครงการ Data Governance เป็นไปตามกรอบที่กำหนดเอาไว้
Data Governance Coordinator คือ ทีมงานที่เกี่ยวข้องกับ Data Governance แต่อาจจะไม่ใช่ทีมผลักดันโดยตรง เช่น ทีม IT ทำหน้าที่สนับสนุนด้านเทคนิค ทีมธุรกิจผู้ทำหน้าที่เป็นเจ้าของข้อมูลเป็นต้น
ในเชิงการบริหารองค์กรอาจมีการประชุมของผู้บริหารเพื่ออัพเดทโครงการ Data Governance และกำหนดแนวทางนโยบายประจำไตรมาส
ในเชิงการบริหารโครงการ ทีม Data Steward อาจมีการประชุมกันบ่อยขึ้นเพื่อดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จตามกำหนดการ
ดังนั้นคำถามที่ชวนคิดต่อ คือ องค์กรของเรา มีการกำหนดคณะทำงานและคณะกรรมการสำหรับโครงการ Data Governance ที่ถูกต้องและเหมาะสมแล้วหรือยัง ?
#Coraline ให้คำปรึกษา และรับพัฒนาโครงการ Data Governance, Data Management, Data Analytics, Data-driven Transformations และ ChatGPT for Enterprise เพื่อเพิ่มศักยภาพของธุรกิจ
Tel: 099-425-5398
Email: inquiry@coraline.co.th Facebook page: https://www.facebook.com/coralineltd
Website: https://www.coraline.co.th/
Comments