ปัจจุบันหลายองค์กรให้ความสำคัญกับการจัดการข้อมูล จะเห็นได้จากการดำเนินโครงการ Big Data ในหลายธุรกิจที่เน้นการเชื่อมโยงข้อมูล และการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาใช้เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูล แต่อย่างไรก็ตาม การทำให้ข้อมูลมีความพร้อมใช้ ไม่ใช่แค่เรื่องการวางระบบ IT เท่านั้น แต่เป็นการวางมาตรฐานของข้อมูลภายในองค์กร รวมไปถึงการสร้างวัฒนธรรมการใช้ข้อมูลของฝั่งธุรกิจอีกด้วย
ปัญหาที่หลายองค์กรกำลังพบเจอ คือ การทำงานแยกส่วนกันระหว่างฝั่ง IT กับ ฝั่ง BU กล่าวคือ IT ก็อยากลงทุนด้าน Infrastructure อยากรวบรวมข้อมูล แต่ไม่มีโจทย์มาจาก BU ทำให้หลายครั้งพบว่า IT ตั้งโจทย์เอง จัดซื้อจัดจ้างเอง และเมื่อนำไปให้ User ใช้งาน ก็ถูกปฏิเสธ เพราะ User มองว่า มันไม่ตรงกับความต้องการของ User ส่วนฝั่ง User เอง มีความต้องการ หรือมีปัญหาที่อยากให้แก้ แต่ก็ไม่รู้จะตั้งเรื่องอย่างไร เพราะมองว่าเรื่อง Data คือ เรื่องของ IT และไม่มีเวลาไปศึกษาหา Solution ด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ จึงเกิดการจัดซื้อจัดจ้างที่ทับซ้อน และมีโครงการที่ไม่เชื่อมโยงกัน เกิดจากการทำงานที่ต่างวาระกันเกิดขึ้น
ปัญหาเหล่านี้ เกิดจากการละเลยการสร้างวัฒนธรรมในองค์กร และปล่อยให้แต่ละแผนกเอาตัวรอดด้วยตัวเอง ทุกแผนกจึงหาทางรอดให้ตัวเอง โดยไม่ได้คำนึงถึงความยั่งยืนของโครงการ หรือความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันขององค์กร
บุคคลที่มีส่วนสำคัญในการปรับเปลี่ยนองค์กรให้เข้าสู่ยุค Digital ได้อย่างเต็มตัว คือ CIO หรือ ผู้บริหารสูงสุดด้านเทคโนโลยีข้อมูล แม้ว่าในสายบังคับบัญชาแล้ว CIO จะดูแลทีม IT เป็นหลัก แต่องค์กรสามารถเขียน Policy ให้มีการลงทะเบียนโครงการด้าน Digital เพื่อให้ฝ่ายกลยุทธด้านเทคโนโลยีขององค์กรเข้ามาช่วยดูแลโครงการได้ ซึ่งฝ่ายงานนี้ จะขึ้นตรงกับ CIO ทำให้แน่ใจได้ว่า โครงการด้านเทคโนโลยีทุกโครงการจะมีหน่วยงานด้านเทคโนโลยีคอยดูแล ในขณะที่ฝ่ายงานอื่น ๆ ด้านธุรกิจจะทำหน้าที่เป็นเจ้าของโครงการ เพื่อให้แน่ใจได้ว่าโครงการที่จะเกิดขึ้นจะตอบโจทย์การทำงานได้อย่างแท้จริง
วัฒนธรรมขององค์กรที่จะต้องเปลี่ยน คือ "ความโปร่งใส" โดยข้อมูลที่ถือว่าเป็นทรัพยากรหลักในการต่อยอดธุรกิจจะต้องสามารถเปิดให้เข้าถึงได้ โดยมีการคัดกรองวัตถุประสงค์และความเสี่ยงในการนำข้อมูลไปใช้งาน ซึ่งผู้ที่มีสิทธิเข้าถึงข้อมูลจะสามารถทราบได้ว่าข้อมูลที่ตัวเองต้องการอยู่ที่ไหน และมีกระบวนการในการนำไปใช้งานได้อย่างไร ซึ่งหากองค์กรให้ความสำคัญกับการสร้าง Data library อย่างแท้จริง ระบบ Data Library จะไม่จำเป็นต้องมี IT เป็นคนค้นหาข้อมูลให้ แต่ User จะสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ด้วยตัวเอง และเมื่อองค์กรสร้างวัฒนธรรมให้มีการเข้าถึงข้อมูลได้ ก็จะต้องมีการกำหนดบทบาทความรับผิดชอบของคนที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล เช่น ผู้ดูแลระบบกรอกข้อมูล เจ้าของข้อมูล ผู้ดูแลข้อมูล และผู้ใช้ข้อมูล เมื่อกำหนดบทบาทได้เรียบร้อยแล้วจะทำให้การควบคุมเรื่องคุณภาพข้อมูลเกิดขึ้นได้ง่ายขึ้น เพราะหากพบว่าข้อมูลไม่พร้อมใช้ หรือมีปัญหาใด ๆ เจ้าของข้อมูลจะต้องทำหน้าที่ตรวจสอบและรับผิดชอบข้อมูลของตัวเอง หลายครั้งพบว่าปัญหาข้อมูลไม่สะอาดเป็นปัญหาเรื้อรังอันมีสาเหตุจากการไม่สื่อสารให้เจ้าของข้อมูลทราบบทบาทของตัวเอง
การเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรในแต่ละส่วนงาน จะมีกระบวนการที่แตกต่างกัน กล่าวคือ IT จะมีมุมมองแบบหนึ่ง ฝ่ายกลยุทธอีกรูปแบบหนึ่ง และฝ่ายธุรกิจก็จะมีรูปแบบการทำงานที่แตกต่างกันออกไป ทำให้วิธีการเปลี่ยน Mindset ของแต่ละฝ่ายงานจะค่อนข้างแตกต่างกัน ดังนั้นแต่ละฝ่ายจะต้องการทราบถึงบทบาทที่เกี่ยวข้องกับตัวเองเท่านั้น
สุดท้ายนี้หากองค์กรไม่เปลี่ยนวัฒนธรรม ก็คงเป็นเรื่องยากที่จะปรับตัว และจะยิ่งเป็นการสร้างปัญหาเรื่องใหม่ คือการที่โครงการกระจัดกระจาย จนสุดท้ายเกิดข้อมูลมากมายในองค์กร แต่ไม่รู้ว่าใครรับผิดชอบและไม่รู้มีข้อมูลอยู่ตรงไหนกันแน่
การเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร เป็นเรื่องที่เริ่มได้เลย โดยไม่ต้องรออะไร
We turn your DATA into your KEY of success.
เราพาคุณขับเคลื่อนสู่ความสำเร็จด้วยข้อมูล
คอราไลน์ พร้อมให้คำปรึกษาและพัฒนาโครงการ Big Data, Data Governance, Data Management, Data Analytics, Data Driven Transformations, AI, ChatGPT
สนใจบริการติดต่อ
Tel: 02-096-4465
Email: inquiry@coraline.co.th
Facebook: https://www.facebook.com/coralineltd
Youtube: https://www.youtube.com/@CORALINECOLTD
Kommentare