CMO หรือ Chief Marketing Officer คือผู้ที่ต้องดูแลและรับผิดชอบในการปรับกลยุทธ์ทางการตลาดและแนวทางในการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการขององค์กร เพื่อนำเสนอสารไปสู่ผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ นักการตลาดจำเป็นต้องเก็บข้อมูลต่างๆ เช่น พฤติกรรมของผู้บริโภค เทรนด์แฟชั่น และปัจจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้องจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายมาวิเคราะห์และสร้างกลยุทธ์ทางการตลาด
ปัจจุบันพบว่าพฤติกรรมของผู้บริโภคหลังจากช่วงโควิดระบาดเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก โดยเฉพาะการซื้อสินค้า จากเดิมที่เคยไปซื้อของที่ร้านและปรึกษาพนักงานขาย โดยจะตัดสินใจซื้อสินค้าตามคำแนะนำของพนักงาน แต่ปัจจุบันพบว่าผู้บริโภคกลับชอบที่จะค้นหาข้อมูลและศึกษาสินค้าที่จะซื้อด้วยตนเองมากขึ้น อีกทั้งการซื้อของออนไลน์ก็เพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก สิ่งนี้ทำให้นักการตลาดต้องรับผิดชอบในการจัดทำเนื้อหาที่เหมาะสมและสามารถนำเสนอเนื้อหานั้นในเวลาและช่องทางที่เหมาะสมกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายอีกด้วย
Wall Street Journal เปิดเผยว่า Google Facebook และ Amazon มีส่วนแบ่งทางการตลาดถึง 50% ของค่าโฆษณาทั้งหมดในอเมริกา บริษัท PWC และInteractive Advertising Bureau ยังมีวิจัยเพิ่มเติมว่าการโฆษณาผ่านโซเชียลมีเดียมีอัตราการเติบโตขึ้นถึง 12% เมื่อเทียบจากปีที่แล้ว ทำให้การตลาดยุคนี้นำสู่ไปความเป็นดิจิทัลมากขึ้น มีข้อมูลต่างๆของลูกค้าที่ลึกมากขึ้นในรูปแบบที่หลากหลายและมีแหล่งข้อมูลเพิ่มขึ้น หน้าที่ของ CMO คือต้องสามารถปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ได้อย่างรวดเร็ว เพราะตลาดปัจจุบันมีความเปลี่ยนแปลงเป็นรายชั่วโมงรายนาที ไม่ใช่ระยะเวลาเป็นวันหรือสัปดาห์อีกต่อไป
เนื่องจากข้อมูลที่เพิ่มสูงและหลากหลายมากขึ้น ทำให้ยากต่อการจัดการข้อมูล ข้อมูลเหล่านี้อาจจะแยกส่วนและมีรูปแบบที่ต่างกัน เช่น รูปภาพ ข้อความ เสียง หรือคลิป เป็นต้น การจัดการกับข้อมูลเหล่านี้เพื่อให้ง่ายต่อการวิเคราะห์จำเป็นต้องมี Solution ที่เหมาะสมในการจัดการข้อมูลและต้องสามารถแปรผลได้แบบเรียลไทม์เพื่อรองรับกับความเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
เมื่อองค์กรสามารถจัดการกับข้อมูล (Data Management) ได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว นักการตลาดก็จะสามารถเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้องและนำมาวิเคราะห์เพื่อหากลยุทธ์ที่เหมาะสมได้ เราขอยกตัวอย่างเคสของบริษัทผลิตสินค้าแห่งหนึ่ง ที่ได้ทำโครงการ Big Data เพื่อใช้ในการตลาดกับ บริษัทคอราไลน์ จำกัด โดยได้ใช้ข้อมูลการขายสินค้า ซึ่งเป็นข้อมูลในองค์กรและข้อมูลอื่นๆเช่น จำนวนประชากร ลักษณะพื้นที่ และปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งข้อมูลเหล่านี้มีรูปแบบแตกต่างกัน กระจัดกระจายไม่สามารถทำมาประมวลผลได้ เราจึงต้องนำข้อมูลทั้งหมดมาทำความสะอาดและจัดการให้ง่ายต่อการวิเคราะห์ เมื่อจัดการข้อมูลแล้วจึงนำมาวิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้าแต่ละจังหวัด ทำให้นักการตลาดสามารถออกแบบโปรโมชั่นที่เหมาะสมกับสาขาและลูกค้าในแต่ละจังหวัดได้
นอกจากโครงการ Big Data แล้ว ทางบริษัทแห่งนี้ยังวางนโยบายที่จะนำระบบ AI และ Machine Learningมาเชื่อมต่อกับระบบ Big Data ซึ่งเมื่อสต็อคของสินค้ามีคงค้างในคลังเกินกว่าที่กำหนดไว้ AI จะประมวลผลและจัดการทำโปรโมชั่นที่เหมาะสมกับสินค้า พร้อมแนะนำเนื้อหาและช่วงเวลาที่เหมาะสมในการโปรโมต ขณะเดียวกันนั้น Machine Learning ก็จะเรียนรู้และพัฒนาปรับปรุงระบบให้มีความแม่นยำขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งนอกจากการใช้ Big Data ในการพัฒนาด้านการตลาดแล้วยังสามารถนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้ในการผลิตสินค้าให้ตรงกับความต้องการได้อีกด้วย
ในโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วท่ามกลางการแข่งขันเช่นนี้ หากองค์กรสามารถบริหารจัดการข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ และมี CMO ที่มีพื้นฐานในการคิดวิเคราะห์ สามารถออกแบบกลยุทธ์ที่เหมาะสมแล้ว การประสบความสำเร็จในด้านการตลาดก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
References :
#BigData #DataScience #Optimization #ProductivityImprovement #DigitalTransformation #MachineLearning #ArtificialIntelligence #DataManagement #DataGovernance #DataQuality #DeepLearning #CMO #Marketing #Coraline
We turn your DATA into your KEY of success. Email: inquiry@coraline.co.th Tel: 099-425-5398
Comments