การเก็บความต้องการทางธุรกิจ (Business Requirement Gathering) เป็นส่วนงานที่สำคัญ และเป็นเหมือนกับฐานที่มั่นของโครงการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีทั้งหมด โดยทางทีมนักวิเคราะห์ธุรกิจ (Business Analyst) จะมีหน้าที่พิจารณาปัญหา วิเคราะห์สถานะปัจจุบัน และรวบรวมความต้องการทางธุรกิจจากผู้ใช้งาน เพื่อถ่ายทอดและสื่อสารให้กับทีมพัฒนา รวมถึงการตรวจสอบ Outcome จากการพัฒนาว่าตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้งานและสามารถแก้ปัญหาของผู้ใช้งานได้หรือไม่
Requirement Gathering Process
เข้าใจปัญหา (Pain Point) ของผู้ใช้งาน ศึกษาปัญหาและโอกาสทางธุรกิจ เพื่อกำหนดเป้าหมายของโครงการว่า Solution ที่เราจะมอบให้กับผู้ใช้งานต้องสามารถแก้ปัญหาของผู้ใช้งานได้
เข้าใจสถานการณ์หรือกระบวนการทำงานของผู้ใช้งานในปัจจุบัน (As-is Business Process)
ต้องทราบว่า Key Stakeholder ในโครงการคือใครเพื่อให้เราสามารถสัมภาษณ์หรือรับข้อมูลได้ถูกต้อง เช่น Stakeholder ที่ริเริ่มโครงการและมีส่วนรับผิดชอบต่อโครงการ, Stakeholder ที่เป็นผู้ให้ข้อมูลกระบวนการทำงานในปัจจุบัน, Stakeholder ที่เป็นผู้ใช้งานระบบ
สัมภาษณ์ Stakeholder ที่เกี่ยวข้อง เพื่อรับทราบปัญหารวมถึงกระบวนการทำงานในปัจจุบัน
จัดทำ Business Flow เพื่อยืนยันความเข้าใจและความถูกต้องกับผู้ใช้งาน
ประเมินและวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อให้เข้าใจถึงต้นเหตุของปัญหา โดยใช้หลักการต่าง ๆ เช่น SMART goals, SWOT Analysis, Five whys
รวบรวมและวิเคราะห์ความต้องการเพื่อถ่ายทอดให้ทีมพัฒนา โดย Requirement สามารถแบ่งเป็นหลายประเภท เช่น
Business Requirement - ความต้องการในระดับ High level ขององค์กร มักเป็นความต้องการของผู้บริหาร หรือความต้องการเพื่อแก้ปัญหาทางด้านธุรกิจ เพิ่มโอกาสด้านธุรกิจ หรือเหตุผลที่ดำเนินโครงการ
User Requirement - คือความต้องการด้านการใช้งานระบบของ User
System Requirement - คือความต้องการด้านระบบ
Functional Requirement คือความต้องการด้านฟังก์ชันหลักในการทำงานของระบบ
Nonfunctional Requirement คือความต้องการด้าน environmental condition ที่ไม่เกี่ยวกับการทำงานของระบบ เช่น Performance, Capacity, Security เป็นต้น
จัดทำเอกสารรวบรวม Requirement เพื่อยืนยันกับผู้ใช้งานก่อนถ่ายทอดให้ทีมพัฒนาทำการพัฒนา Solution
ดังนั้นเพื่อให้สามารถพัฒนา Outcome ได้ตรงตามความต้องการ สามารถแก้ปัญหาได้ตรงตามความต้องการและตาม Timeline ของโครงการ และการส่งต่องานให้ทีมพัฒนาได้อย่างราบรื่น ลดข้อผิดพลาดในความเข้าใจที่ไม่ตรงกัน การเก็บ Requirement (Requirement Gathering) ที่ดี ละเอียด ชัดเจน ครบถ้วน จึงมีความสำคัญต่อการพัฒนาโครงการ
เพราะฉะนั้นตำแหน่ง Business Analyst จึงเป็นตำแหน่งที่สำคัญอย่างยิ่งในทีมนักพัฒนา เพราะนอกจากจะเป็นคนวิเคราะห์ปัญหาแล้ว ยังสามารถตั้งโจทย์ และประเมินผลลัพธ์ได้อีกด้วย เรียกได้ว่า เป็นคนวางทิศทางของโครงการ ดังนั้น ต่อให้มี Technician เก่งๆ หลายคน แต่ไม่มี Business Analyst ที่สามารถทำ Business Requirement Gathering ได้ โครงการอาจจะไม่สามารถดำเนินงานได้อย่างราบรื่นก็เป็นได้
Comments