1. การติดตามคนที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อ
ในเกาหลี จีน สิงคโปร์ และไต้หวันที่ประสบความสำเร็จในการหยุดยั้งการแพร่กระจายของ Covid-19 มีการเก็บข้อมูลพฤติกรรมของผู้ป่วย Monitor และแจ้งความเสี่ยงในการติดเชื้อให้ประชาชนทั่วไปรู้ ซึ่งหากใครมีความเสี่ยง ก็สามารถเข้ามารับการตรวจเชื้อได้ทันที
จีนมีการใช้ AI เพื่อตรวจกับพฤติกรรม การเดินทางและพฤติกรรมของแต่ละคนที่ได้พบเจอกับคนอื่น ๆ
เกาหลีมีการทำเว็บไซต์เพื่อแจ้งเตือนให้คนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงทราบ โดยการทำเป็น Data Visualization ที่บอกเวลาชองการแพร่กระจายอย่างชัดเจน เช่น จุดนี้ เมื่อ 6 ชั่วโมงที่แล้ว
สิงคโปร์ใช้การสื่อสาร และมีการเก็บข้อมูลนักท่องเที่ยวและใช้ข้อมูลเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารความเสี่ยง รวมถึงการบริหาร Supply Chain ของสินค้าอุปโภคบริโภคอีกด้วย
ไต้หวัน มีการใช้ข้อมูลจากสัญญาณโทรศัพท์เพื่อติดตามพฤติกรรมของผู้มีความเสี่ยง
2. การวางแผนด้านการกระจายงบ กระจายอุปกรณ์ และกระจายกำลังความสามารถในการดูแลผู้ป่วย
การนำข้อมูลมาวิเคราะห์ความสามารถด้านการแพทย์ เพื่อบริหารจำนวนบุคลากร อุปกรณ์ โดยความสามารถในการดูแลผู้ป่วยออกเป็นส่วน ๆ เช่น มีการตั้งศูนย์กลางการดูแลออกเป็นเขต เพราะกระจายการรักษา
3. การจัดสรรแรงงาน
แม้วิกฤต Covid-19 จะทำให้งานบางประเภทได้รับผลกระทบอย่างหนัก แต่ก็มีงานบางประเภทที่กำลังเป็นที่ต้องการ ซึ่งหากใช้ Big Data ที่มีข้อมูลแรงงาน จะทำให้สามารถวิเคราะห์ได้ว่า จะมีภาคแรงงานจำนวนเท่าใดที่ได้รับผลกระทบ และหากมีการสร้าง Platform กลางเพื่อทำหน้าที่กระจาย “ข้อมูล” ด้านแรงงาน อาจสามารถช่วยให้เกิดการกระจายแรงงานในแต่ละพื้นที่ได้ เพราะการจ้างงานจะมีขั้นตอนการตรวจสอบข้อมูล ซึ่งหน่วยงานกลางที่มีข้อมูลอยู่แล้ว จะช่วยทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการตรวจสอบข้อมูลได้ ทำให้กระบวนการว่าจ้างเกิดขึ้นได้รวดเร็วขึ้น
4. การจัดสรรงบเพื่อช่วยเหลือประชาชน
ข้อมูลจากฐานภาษี สามารถวิเคราะห์ได้ว่า ใครคือคนที่มีรายได้ หรือไม่มีรายได้ รวมไปถึงอาชีพ ลหรือพนักงานจากบริษัทใดบ้างที่ควรได้รับการช่วยเหลือ ทั้งนี้ทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้นได้อย่างสมบูรณ์แบบ ก็ต่อเมื่อมีข้อมูลฐานภาษีที่มีคุณภาพ มีความครบถ้วน แต่หากข้อมูลฐานภาษีไม่ถูกต้อง ก็ยากที่จะจัดสรรงบเพื่อเยียวยาได้ถูกต้อง อีกทั้งอาจใช้ระยะเวลาในการวิเคราะห์หรือตัดสินใจที่ยาวนาน อันเนื่องมาจากการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลนั่นเอง
นี่เป็นเพียง Concept Idea ของการใช้ Big Data ในสถานการณ์ Covid-19 ซึ่งแต่ละหัวข้อจะมีอุปสรรคที่คล้ายกัน ได้แก่
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีการแชร์ข้อมูลข้ามหน่วยงาน
มีการเก็บข้อมูลกระจัดกระจาย
รูปแบบของข้อมูลที่เก็บ ไม่เหมือนกัน ทำให้ยากต่อการนำข้อมูลมาเชื่อมโยงกัน
ไม่รู้ว่าจะต้องนำข้อมูลอะไรมาวิเคราะห์
ไม่มีตัวอย่างทำหน้าที่รวบรวม หรือเป็นศูนย์กลางในการทำงาน
ไม่มีความรู้ด้านเทคโนโลยี Big Data
ปัญหาทั้ง 7 ข้อนี้ ไม่ใช่ปัญหาเฉพาะในกรณี Covid-19 แต่เป็นปัญหาของทุกองค์กร ที่ยังไม่มีการดำเนินโครงการบริหารข้อมูล หรือ Data Management และยังไม่ได้ให้ความสำคัญกับ Big Data เท่าที่ควร
ซึ่งโครงการ Data Management ต้องใช้เวลาในการดำเนินโครงการ เพราะเกี่ยวข้องตั้งแต่การติดตั้งระบบ การออกแบบวิธีรักษาความปลอดภัยของข้อมูล การระบุแหล่งที่มาของข้อมูล การเชื่อมโยงข้อมูล การจัดโครงสร้างของข้อมูล การกำหนดสิทธิในการเข้าถึงและการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์
ดังนั้นจึงไม่แปลกที่เรายังไม่สามารถใช้ประโยชน์จาก Big Data ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อย่างไรก็ตามสถานการณ์นี้ “เราทุกคน” สามารถช่วย “หยุด” การแพร่กระจายของ Covid-19 ได้ด้วยหลักการ Social Distance และหากวิกฤตนี้ผ่านไปได้ ก็คงถึงเวลาแล้วที่เราจะทำความเข้าใจในเรื่อง Big Data อย่างถูกต้องเสียที
We turn your DATA into your KEY of success.
เราพาคุณขับเคลื่อนสู่ความสำเร็จด้วยข้อมูล
คอราไลน์ พร้อมให้คำปรึกษาและพัฒนาโครงการ Big Data, Data Governance, Data Management, Data Analytics, Data Driven Transformations
สนใจบริการติดต่อ
Tel: 099-425-5398
Email: inquiry@coraline.co.th
Facebook: https://www.facebook.com/coralineltd
Komentar