top of page

5 ความผิดพลาดในโครงการ Data Governance

โครงการ Data Governance เป็นโครงการในเชิงนโยบายที่มีความเกี่ยวข้องกับบุคลากรหลายฝ่าย ตั้งแต่ฝ่าย IT ที่เป็นผู้ดูแลระบบไปจนถึงฝ่าย BU ที่อาจเป็นทั้ง Data Owner และ User ทำให้ขอบเขตของโครงการค่อนข้างกว้างและซับซ้อน


อย่างไรก็ตามด้วยความเป็นโครงการในเชิงนโยบาย ตัวโครงการจึงค่อนข้างจับต้องได้ยากและไม่มีตัวชี้วัดที่ชัดเจนเหมือนโครงการ IT อื่นๆ ที่มีการส่งมอบเป็นระบบ ดังนั้นจะพบว่าหลายองค์กรมีการดำเนินโครงการ Data Governance ไปแล้วแต่ก็ไม่สามารถนำไปบังคับใช้ได้ อีกทัังทีมงานก็ไม่เข้าใจในกระบวนการทำงานของโครงการจนกลายเป็นว่าเป็นการดำเนินโครงการที่สูญเปล่า


คอราไลน์ขอรวบรวมความผิดพลาด 5 ประการในโครงการ Data Governance ซึ่งประกอบไปด้วย


1. ไม่มีการติดตั้ง และใช้งาน Data Catalog Data Catalog เป็นเครื่องมือเพื่อค้นหาข้อมูลที่มีอยู่ในองค์กร นอกจากนี้การนำข้อมูลเข้าระบบ Data Catalog จำเป็นต้องผ่านกระบวนการในการตรวจสอบ ทั้งในส่วนของคุณภาพข้อมูลและความครบถ้วนของ Metadata อีกด้วย ดังนั้นหากไม่มี Data Catalog การดำเนินโครงการ Data Governance ก็เปรียบเหมือนยังไม่สำเร็จนั่นเอง


2. เลือกใช้ Framework ที่ไม่เหมาะสม ปัจจุบันมี Framework จากสถาบันต่างๆ มากมาย โดยแต่ละ Framework จะมีหัวข้อที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งในความจริงแต่ละองค์กรก็สามารถกำหนด Framework ได้เอง เพราะบริบทของแต่ละองค์กรและลักษณะความต้องการในการใข้ข้อมูลแตกต่างกัน


3. ไม่มีการจัดตั้งคณะทำงาน Data Governance ให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงระหว่าง People Process และ Technology เนื่องจากเป็นโครงการในเชิงนโยบายผู้เกี่ยวข้องในโครงการจึงมีทั้งระดับผู้บริการและระดับปฏิบัติงาน แบ่งเป็น 3 Level ได้แก่ Committee, Council และ Officer

โดยระดับ Committee จะเป็นผู้บริหารองค์กร Council จะเป็นผู้บริหารหน่วยงาน และ Officer คือระดับผู้ปฏิบัติงาน นอกจากนี้ยังจำเป็นต้องมีผู้เชี่ยวชาญสำหรับโครงการอีกด้วย เช่น Data Steward และ DPO ในด้านข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA)


4. จบโครงการด้วยรายงาน โดยไม่มีการต่อยอดโครงการ แม้จะเป็นโครงการในเชิงนโยบายแต่การทำให้โครงการสำเร็จได้อย่างสมบูรณ์ คือการวาง Process เพื่อให้มีการตรวจสอบและกำกับดูแลข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นการติดตั้งโปรแกรม Data Catalog และการวางแผนเพื่อตรวจสอบข้อมูลในชุดข้อมูลต่างๆ จนครบทั้งองค์กร ดังนั้นการจบโครงการจึงควรเป็นสิ่งที่จับต้องได้ เช่น มีการตรวจสอบข้อมูลต้นแบบทั้งสิ้น 50 ชุดข้อมูล เพื่อนำเข้าระบบ Data Catalog เป็นต้น ซึ่งการจบโครงการด้วยรายงานหรือ paper ก็ไม่ต่างกับการจ้างทำวิจัยแต่ไม่ได้นำผลวิจัยไปใช้ประโยชน์อะไร


5. จัดจ้างที่ปรึกษาที่ไม่มีประสบการณ์ด้านโครงการ Data Management โครงการ Data Governance มีความเกี่ยวข้องกับ Data Management อย่างมีนัยสำคัญ ในการว่าจ้าง Vendor ทั้งในมุมที่ปรึกษาและผู้พัฒนาการโครงการจึงควรว่าจ้างผู้ที่มีประสบการณ์ด้าน Data Management มาก่อนเพื่อสามารถวิเคราะห์ช่องว่างและต่อยอดโครงการได้ หากว่าจ้างผู้ไม่มีประสบการณ์ อาจจะได้ผลลัพธ์ออกมาคล้ายกับการ Training และส่งเป็นรายงานที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ในระยะยาว


โครงการ Data Governance จะช่วยแก้ปัญหาการหวงแหนข้อมูล การไม่รู้ว่าข้อมูลอยู่ที่ไหน ใครเป็นเจ้าของและยิ่งไปกว่านั้นหากสามารถดำเนินโครงการได้อย่างสำเร็จสมบูรณ์ ผลลัพธ์ของโครงการจะเป็นการช่วยผลักดันให้เกิด Data Driven Culture ได้เพราะทุกคนที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลในองค์กรจะมีความเข้าใจในกระบวนการใช้ข้อมูลมากขึ้นโดยเฉพาะหากมีการติดตั้ง Data Catalog จะทำให้ผู้เกี่ยวข้องมีเครื่องมือในการค้นหาข้อมูลตามสิทธิของตัวเอง


5 ความผิดพลาดในโครงการ Data Governance
5 ความผิดพลาดในโครงการ Data Governance

Comments


< Previous
Next >
bottom of page